kamagra kaufen kamagra oral jelly kamagra australia kamagra australia cialis kopen levitra 20 mg viagra online bestellen cialis preise cialis original viagra bestellen levitra bayer kamagra shop kamagra oral jelly viagra generika levitra preis kamagra bestellen cialis 20mg cialis bestellen
ที่อับอากาศคืออะไร - ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 3
3065918
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1481
2364
15381
3035669
15381
65968
3065918

Your IP: 192.168.2.69
2024-12-07 19:03

หน้าหลัก

ที่อับอากาศคืออะไร

Post on 09 มกราคม 2562
by Osh3
ฮิต: 48450

 

ที่อับอากาศคืออะไร

                ที่อับอากาศหรือ Confined space คือ ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย รวมทั้งไม่ได้ออกแบบไว้เป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถังไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และตามนิยามกฎหมายความปลอดภัยที่อับอากาศยังรวมถึง บรรยากาศอันตรายซึ่งหมายถึง สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

(๒) มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable limit หรือ Lower Explosive Limit)

(๓) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (Minimum explosible Concentration)

(๔) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

 

 

รูปที่ ๑ ภาพตัวอย่างที่อับอากาศ

(ออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_196364 และ http://hilight.kapook.com/view/100427)

 

ปัจจัยการพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นที่อับอากาศ

๑. เป็นพื้นที่ซึ่งมีปริมาตรขนาดเล็ก แต่ใหญ่พอที่คนจะเข้าไปปฏิบัติงานได้
ปัจจัยการพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นที่อับอากาศ

๒. เป็นพื้นที่ที่อยู่ในสภาพจำกัดไม่ให้มีการเข้าออกได้โดยสะดวก พื้นที่ภายในมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากสภาพอากาศที่เป็นอันตราย เช่น มีก๊าซ หรือไอ ฯลฯ ที่ไม่สามารถระบายออกและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างในบริเวณนั้น อาจสูดดมแก๊สพิษเข้าสู่ร่างกายหรือมีออกซิเจนไม่เพียงพอ

๓. สภาพการเข้าออกไม่สะดวกทำให้การกู้ภัยหรือกู้ชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก

๔. ช่องเปิด ทางเข้า ทางออก มีขนาดเล็กหรือมีจำนวนจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ

๕. เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ออกแบบให้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

 

  รูปที่ ๒ ช่องเปิด ทางเข้า ทางออก ที่อับอากาศ

(ออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_196364 และ http://www.thairath.co.th/content/412950)

 

ปฏิบัติอย่างไรเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

๑. มีระบบการทำงานที่มีความปลอดภัย ดังนี้

ก. มีผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน หรือเจ้าของพื้นที่เข้าดูแลรับผิดชอบพื้นที่

ข. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต) ต้องผ่านการอบรมและมีความรู้ความสามารถในการทำงานในสถานที่อับอากาศ

ค. มีการตัดระบบการทำงานของเครื่องจักร กระแสไฟฟ้า และการป้อนวัสดุ

ง. ทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบเพื่อไม่มีสิ่งที่เป็นอันตราย ก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ 

จ. ทำการตรวจสอบและดำเนินการให้ช่องทางเข้าออก สะดวก ปลอดภัย

ฉ. มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมก่อนเข้าทำงาน และตลอดระยะเวลาที่ทำงาน 

ช. มีการตรวจวัดสภาพบรรยากาศสำหรับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ซ. เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะกับลักษณะงาน และแสงสว่างเพียงพอ

ฌ. มีการเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA ที่เหมาะสม

ญ. มีป้ายเตือนอันตรายและห้ามเข้า

 

๒. มีการเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินให้พร้อมก่อนเริ่มการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ก. ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมในการแจ้งกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ข. จัดเตรียมเครื่องมือกู้ภัยและช่วยชีวิตที่พร้อมใช้งานได้อย่างทันสถานการณ์

ค. ทีมฉุกเฉินและทีมกู้ภัยมีสมรรถนะตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศได้ทันสถานการณ์

 

๓. มีการจัดโปรแกรมการจัดการเพื่อความปลอดภัยในการเข้าทำงานในที่อับอากาศ

ก. ชี้บ่งอันตรายพื้นที่ที่ถือว่าเป็นที่อับอากาศ

ข. มีระบบการอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ค. จัดให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง (ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต) และผู้ที่มีความรู้ความสามารถอบรมการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

ง. มีการวางแผน และทำการประเมินความเสี่ยงในการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศแต่ละครั้ง

จ. มีขั้นตอนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการตรวจวัดสภาพบรรยากาศอันตราย

ฉ. มีป้ายเตือนอันตราย

ช. มีระบบการป้องกันการเข้าในที่อับอากาศโดยพลการ

ซ. จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์การช่วยชีวิต หรืออุปกรณ์พิเศษอื่นตามลักษณะการปฏิบัติงาน

ฌ. จัดให้มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมก่อนเข้าทำงาน และตลอดระยะเวลาที่ทำงาน

ญ. มีแผนกู้ภัยฉุกเฉินสำหรับลูกจ้างหรือผู้ประสบภัยในสถานที่อับอากาศ

 

แหล่งอ้างอิง

๑.ไอศวรรย์ บุญทัน. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรในที่อับอากาศ. ออนไลน์. แหล่งที่มา http://www.safetyworkplace.net/uploads/3474/files/Att%23%2004%20เอกสารประกอบอบรมการทำงานในที่อับอากาศ%20update%2057-1.pdf. (เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐)

๒.ข่าวสดออนไลน์. สยองกรุง! คนงานลงไปล้างบ่อบำบัดลึก 2 เมตร สุดท้ายขาดอากาศตายสลด 4 ศพ. ออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_196364 (เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐)

๓.ไทยรัฐออนไลน์. 10 ปี คนตายในที่อับอากาศสูง 88% ชี้ก๊าซไข่เน่าทำเสียชีวิต. ออนไลน์. แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/412950 (เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐)

facebook ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 3